กลับหน้าแรก

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ความรู้เรื่องคาร์บอนไฟเบอร์

ผมจะเปลี่ยนที่แห่งนี้เป็นสารานุกรม ว่าด้วยวิชาคาร์บอนไฟเบอร์
เรียนเเจ้งทุกท่านให้ทราบ เวลาที่ผ่านมาผมได้เขียนบทความ
ที่เป็นความรู้เกี่ยวกับไฟเบอร์กลาส ให้กับเว็บบล็อคผมเอง
ปรากฎว่ามีคนนำบทความผมไปแอบอ้างว่าเขียนเองและไปทำเพื่อการค้า
ผมไม่ได้ว่าอะไรในการให้ความรู้ แต่ผมขออย่างเดียว 
ถ้าคัดลอกไปกรุณา คัดลอกชื่อผู้เขียนไปด้วยคาริน มังกรบูรพา <
 เพราะมันเสียกำลังใจในการสืบค้นข้อมูลมาเผยเเพร่
และการตัดสินใจที่ผมเขียนขึ้ันมาใหม่นี้ผมตัดสินใจอยู่นาน แทนที่คนไทยจะได้ความรู้มากๆ กลับมีบุคคลบางกลุ่มทำวิธีการ ชุบมือเปิบ ทำเพื่อผลประโยชน์ตัวเอง แล้วเมื่อไหร่สังคมจะพัฒนาสักทีล่ะครับ เขียนไปจนไม่อยากจะเขียนแล้ว ถ้าเกิดเหตุการณ์เเบบนี้ขึ้นมาอีก ผมอาจจะเลิกเขียนไปเลยก็ได้ครับ 

เอาล่ะครับมาถึงเรื่องมีสาระกันสักทีนึง
carbonตัวเลขที่6จากตารางธาตุiva
ธาตุคาร์บอนเป็นธาตุที่มีบทบาทมาก เพราะมีส่วนประกอบเป็นล้านสาร
คาร์บอน กราไฟต์ ถ่าน เพรช คือคาร์บอนเหมือนกัน
ประโยชน์ของคาร์บอน ตีเหล็ก ในการตีเหล็กกล้า จะใชสารคาร์บอนหรือถ่านไม้ไผ่เผาเหล็ก ในการตีดาบสมัยโบราณช่างตีเหล็กจะโรยคาร์บอนลงไปในเนื้อเหล็กเพื่อไล่ออกซิเจน ที่ตาเปล่ามองไม่เห็นตัวอ๊อกซิเจนนั้น จะเป็นฟองอากาศเล็กๆอยู่ข้างในเนื้อเหล็ก เหล็กที่ได้มาจะมีความเเข็งแกร่งนั่นคือการค้นพบเหล็กกล้าในสมัยเเรก สารคาร์บอนไส้ไม้ไผ่ ที่โทมัสเอดิสันคิดค้นขึ้นมาเพื่อทำไส้หลอด พบว่าคาร์บอนนั้น ทนความร้อนได้มากพอที่จะให้เเสงสว่างได้ 
สารคาร์บอนที่มีส่วนประกอบในยา เพื่อดูดซับสารพิษเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสีย 
สารคาร์บอนสามารถดูกลิ่นได้
แบตเตอรรี่ถ่านไฟฉายก็มีคาร์บอนผสมอยู่
เพรชก็เป็นคาร์บอนสีขาว และยังมีเรื่องราวอีกมามายที่นำคาร์บอนมาสาธยายไม่หมด

สุดท้ายก็มาถึงพระเอกของเรา
คาร์บอนไฟเบอร์ เป็นการแยกธาตุทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้คาร์บอนเป็นรูปแบบเส้นใย
 เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ของมันง่ายขึ้น
หากเป็นคาร์บอนอย่างเดียวจะมีลักษณะเป็นสีดำทอมาเป็นผ้า ถ้าทอในผืนเดียวนั่นไม่ใช่คาร์บอนไฟเบอร์เพียงอย่างเดียวเเต่นำ อรามิตมาทอด้วยเรียกว่าคาร์บอนเคลฟล่า
ด้วยตัวคาร์บอนไฟเบอร์เองที่ทอมาเป็นผ้าไม่สามารถจะเเข็งแกร่งได้
เพราะผ้าใช้คัดเตอร์ตัดก็ขาด กรรไกรก็ขาด 
เพราะฉนั้นกรรมวิธีการผลิตจึงเลียนวิธีธรรมชาติแบบเพรช ให้มากที่สุดคือ
เพรชใช้เเรงดันสุญญากาศและความร้อนทับถมกันยาวนานหลายล้านปี
แต่คาร์บอนที่มีกรรมวิธีการผลิต คือ ทำให้มีความหนาแน่นเรียงซ้อนกันมากที่สุด ในการวางทิศทางของผ้า และตัวสารเคมีที่ผนึกผ้าเข้าไปต้องเป็นสารที่ถูกออกแบบมาให้ให้ใช้งานกับสิ่งที่เราจะผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะเรียกว่า อิพ็อกซี่เรซิ่น อิพ็อกซี่เรซิ่นบนโลกนี้มีเป็นร้อยชนิด บางชนิดใช้กับคาร์บอนเพื่อทำปีกเครื่องบิน บางชนิดใช้ทำบอดี้รถ บางชนิดใช้ผลิตวงล้อ บางชนิดทำเสื้อเกราะ บางชนิดก็นำคาร์บอนอิพ็อกซี่ผสมเซรามิคเพื่อทำเสื้อเกราะกันกระสุน ในเซรามิคนั้นทนความร้อนบวกกับความเเข็งเเกร่งของคาร์บอนไฟเบอร์ อีกอย่างของคุณสมบัติของคาร์บอนไฟเบอร์คือเบา หากผลิตได้ถูกต้องตามวิธี เสียงของคาร์บอนไฟเบอร์ จะมีเสียงก้องกังวาล ไม่ต่างจากโลหะ อันนี้ยืนยันได้ผมประดิษฐ์ขึ้นมาเเล้ว ตัวสารวัตถุดิบต้องสั่งจากต่างประเทศเนื่องจากไม่มีข้อมูลวิธีการใช้งานที่มีอยู่ในเมืองไทย สำหรับสารอิพ็อกซี่นั้น ต้องศึกษาข้อมูลก่อนใช้ว่าเราจะนำคาร์บอนมาเเปรรูปเป็นอะไร แล้วซื้อตัวสารนั้นมา 
การอบ สารโพลิเมอร์นั้นจำเป็นต้องอาศัยการอบ ไม่ว่าจะทำเป็นคาร์บอนหรือไฟเบอรฺ์กลาส หากไม่ได้อบ นั้นเรียกว่าเเข็งไม่จริง มันยังเปราะอยู่ใช้มือหักได้เลยแม้จะผลิตถูกต้องตามกระบวนการ 
เครื่องอบคือการให้ความร้อนตามองศา ที่มาให้กับคู่มือการใช้น้ำยาหรือตัวสาร บางชนิด80องศาอบ8ชั่วโมง บางชนิด240องศา2ชั่วโมงแล้วแต่คู่มือ อบเเล้วยังไม่สามารถนำมาทดสอบหรือใช้งานได้ ต้องทิ้งตัวชิ้นงาน อย่างน้อย2วันเพื่อให้สารเคมีทำงานได้เต็มที่ สำหรับตัวสารอิพ็อกซี่เรซิ่นนั้นที่ผมรู้จักที่ดีที่สุดในโลกคือแบรนด์ชื่อhuntsman ในเมืองไทยมีบริษัทนำเข้าชื่อ supbon ผมได้ความรู้เกี่ยวกับตัวสาร จากคุณดนุพล ว่าเเท้จริงแล้วตัวสารอิพ็อกซี่นั้น การใช้งานเป็นอย่างไร หากใครสนใจน้ำยาและข้อมูลสามารถติดต่อ คุณดนุพลได้ 081 4975535
กลับมาสู่ข้อมูลการผลิต
การผลิตจะมีหลายวิธีตามรูปแบบ 
แบบง่ายๆไม่มีประโยชน์สวยงามคงหนีไม่พ้นการหุ้มซึ่งไม่ได้เเตกต่างจากการติดสติกเกอร์มาก
แบบเเว็คคั่ม เลย์อัฟ มีประโยชน์คือความหนาแน่ของการอัดเส้นใยจะสูงกว่า
แบบเรซิ่นอินฟิวชั่น ฉีดน้ำยาเข้าแม่พิมพ์มีความหนาเเน่นฟองน้อย
แบบพันด้าย มีความหนาแน่นสูงสุดเป็นวิธีการสร้างเครื่องบิน ถังแก็ส cng  กระสุนยิงไม่เข้า
เเบบพรีเเพร็ค คือการนำผ้าที่เคลือบน้ำยาแช่ตู้เย็น ที่0องศา ผ้าจะคล้ายสติ๊กเกอร์ ใช้งานง่ายความหนาเเน่นสูงแต่จะต้องสร้างเครื่องออโต้เคลฟ(เครื่องอบเเรงดันสุญญากาศให้ความร้อน) งานที่ได้ออกมาจะเบาและมวลสารจะหนาเเน่นมาก แม้จะไม่เท่าการพันคาร์บอนแต่ก็รองลงมา การผลิตเเบบนี้ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง แต่ความผิดพลาดแทบจะเป็น0เช่นกัน
บทความและรูปภาพยังมีต่อหากมีเวลาว่างจะมาเขียนต่อ


เนื่องจากข้อมูลมีขนาดใหญ่ จึงค่อยๆเเปลและปรับปรุง
ยินดีให้นำภาพของผม ไปโฆษณาทำการค้า ได้โดยไม่ต้องขออนุญาติผมได้เลยครับ
ยกเว้นบทความเท่านั้นที่ต้องนำที่มาของผมไปติดด้วยครับ หรือชื่อก็ได้ครับ คารินมังกรบูรพา










หน้าแรก http://mongburapa.blogspot.com/